Categories
Special พื้นฐาน

เทคนิคคุมโทนถ่ายรูปพอร์ทเทรท ด้วยกล้องมือถือ

คุมโทนภาพ ต้องเริ่มมาจากการถ่าย ดังนั้นก่อนจะแต่งรูปเป็นโทนสีต่างๆได้ ต้องถ่ายภาพที่เข้ากันกับโทนสีนั้นๆก่อน เช่น อยากแต่งรูปโทนเขียวพลาสติก ก็ต้องมีโทนสีเขียว

คุมโทนภาพ ต้องเริ่มมาจากการถ่าย ดังนั้นก่อนจะแต่งรูปเป็นโทนสีต่างๆได้ ต้องถ่ายภาพที่เข้ากันกับโทนสีนั้นๆก่อน เช่น อยากแต่งรูปโทนเขียวพลาสติก ก็ต้องมีโทนสีเขียวก่อน

ประเด็นคือ ทำอย่างไรถึงจะได้โทนสีนั้นมา มีแนวคิดและวิธีถ่ายรูปอย่างไร ?

1. เลือกโทนภาพ

camera tone

อย่างสถานที่นี้ มีหลายโทนสี ..แต่มีแค่ 3 สีหลักๆ ได้แก่ เขียว น้ำตาล และขาว เพราะสีอื่นๆมีพื้นที่น้อย ทำให้เวลาถ่ายรูปจะทำให้มีสีอืนๆติดมาด้วย

ดังนั้นขั้นตอนแรกๆ ต้องแยกแยะให้ได้ว่าพื้นที่นี้ มีสีอะไรบ้าง ..แล้วก็ถ่ายรูปเฉพาะสีนั้นๆ

2. เทคนิคถ่ายรูป

Camera tone

ให้นางแบบชิดกับพื้นหลัง

  • ยืนแนบไปกับผนังเลยยิ่งดี เวลาแต่งรูปภาพที่ออกมาจะดูมีมิติ

Camera tone

ตัดองค์ประกอบอื่นๆออก

  • ที่ตรงนี้มีมีหน้าต่าง และไม้ประดับต่างๆ แต่เลือกที่จะถ่ายเฉพาะส่วนนี้ เพราะต้องการ “โทนสีขาว” 
  • ถ้าถ่ายรูปติดหน้าต่างมากด้วย ก็อาจจะไม่ได้โทนสีขาว 

camera tone

ถ่ายรูปไฟล์ RAW

  • สิ่งที่ย้ำอยู่ตลอดมาคือ ควรจะถ่ายรูปเป็นไฟล์ RAW (ถ้ามือถือรองรับ) ภาพที่ได้จะปรับแต่งได้มีมิติมากกว่า 

3. การแต่งตัวของนางแบบ

ถ้าใส่เสื้อสีขาวจะถ่ายได้แทบทุกโทนเลย ถ้าเป็นเสื้อสีอื่นๆ อาจจะทำบางโทนได้ไม่ดี เช่น อยากได้โทนสีหวานๆ แต่ใส่เสื้อสีดำ มันก็จะขัดกัน

4. โทนสีเขียวเหมาะกับ “มือใหม่”

ถ่ายรูปกับธรรมชาติ จะทำให้แต่งรูปออกมาได้หลายแบบมากๆ เช่น สีเขียวพลาสติก สีเขียวอ่อน สีเขียวโหระพา เขียวสดใส ฯลฯ 

เทคนิคถ่ายก็เหมือนเดิม อยู่ไกล้กับฉากหลัง แล้วจะทำให้ได้สีเขียวที่ชัดเจน

Camera

สีเขียวธรรมชาติ ไม่ได้ปรับแต่ง

Camera

เขียวพลาสติก

Camera

เขียวอ่อน

Camera

โทนทอง

Camera

โทนหิมะ

จะเห็นว่าแค่สีเขียวธรรมชาติสีเดียว เอามาแต่งรูปได้หลายแบบ ..ยังทำโทนได้มากกว่านี้อีกนะ

ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ ลองฝึกถ่ายโทนสีเขียวก่อน 

5. ถ่ายแล้วคุมโทนทีหลัง ..ก็ได้

กรณีที่ไม่สามารถคุมการถ่ายได้ เช่น สิ่งของในร้านบางอย่างยกออกไม่ได้ แต่อยากได้มุมนี้ ก็เอาปรับสีทีหลัง

ca

ก่อนแต่ง อยากได้โทนขาวๆคลีนๆ แต่สีในภาพมีค่อนข้างเยอะ

ca

หลังแต่ง ปรับความสว่างเพิ่ม ลดสีเขียวและเหลือง เพื่อให้ภาพดูคลีนที่สุด

อย่างไรก็ตาม ถ้าองค์ประกอบในภาพมากกว่านี้ การคุมสีก็จะยากยิ่งขึ้น

6. ลองใช้ Pantone

camera

จริงๆแล้วมองด้วยตาเปล่าก็ได้ แต่การใช้ Pantone จะทำให้เห็นความจริงยิ่งขึ้น ว่าในภาพนี้มีโทนสีอะไรบ้าง

สุดท้าย บางทีก็ไม่จำเป็นต้องคุมโทน

camera tone

ประโยชน์ของการคุมโทน คือ “แต่งรูปง่าย” แต่ไม่จำเป็นต้องคุมโทนทุกรูปที่ถ่ายหรอก

ถ้ารู้สึกว่ามุมนี้สวยถูกใจก็ถ่ายๆไปเหอะ เพียงแต่ว่าเราไม่สามารถคุมโทนสีเท่านั้นเอง

สรุป

  • คุมโทนคือการเลือก “พื้นที่ของสี” เช่น จะถ่ายรูปทำโทนสีเขียว สีเขียวในรูปต้องมีมากกว่าสีอื่นๆ
  • ประโยชน์ของการคุมโทน ทำให้แต่งรูปง่าย รูปที่ได้สื่อสารโทนสีได้ชัดเจน
  • ให้นางแบบใส่เสื้อสีขาว จะถ่ายรูปได้หลายโทน 

 

By คเณศ อธิรัตนกรัณฑ์

เป้าหมายการทำเว็บของผมคือ คนไทยต้องเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย จะแก้ปัญหาไอทีต้องมีทางออก เว็บมหาลัยฯจึงก่อกำเนิดขึ้น